6 มีนาคม 2019-2018........ (Thai/ ไทย /ASEAN) .......วันนี้เป็นวันครบรอบหนึ่งปีที่ผ่านไป.......รายงานการวิจัยทางการแพทย์ฉบับล่าสุด ...... "การใช้กัญชาทางการแพทย์ " ...........” ประเทศไทยอนุมัติให้ใช้กัญชาทางการแพทย์”,สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายดังกล่าวโดยเอกฉันท์ เพื่ออนุญาตให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ได้ที่ประเทศไทย.....พบสาระสำคัญของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) เปิดช่องให้นำยาเสพติดประเภท 5 "กัญชา-กระท่อม" ไปใช้ทางการแพทย์ ครอบคลุมถึงยาแผนโบราณและยาสมุนไพร แต่ระยะ 5 ปีแรกได้เฉพาะหน่วยงานรัฐ หรือร่วมกับหน่วยงานอื่นเท่านั้น แต่ผู้ลักลอบครอบครองและจำหน่ายรับโทษเหมือนเดิม ส่วนผู้เสพถ้าไม่ใช่รักษาโรค คุก 1 ปี ปรับ 2 หมื่น ถ้าเป็นกระท่อมปรับ 2 พัน......... .1) ในแง่ของความปลอดภัยในการใช้กัญชาทางการแพทย์นั้น ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะสรุปได้ชัดเจนเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้กัญชาทางการแพทย์ ......... .2) ในกรณีส่วนใหญ่นั้น ผลกระทบจากการใช้กัญชาทางการแพทย์นั้น ถือว่า“ไม่รุนแรง”ซึ่ง ได้แก่...... ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า อาการเวียนศีรษะ ผลกระทบที่มีต่อหัวใจและหลอดเลือด ผลกระทบที่มีต่อจิตประสาท และความกระหายที่เพิ่มขึ้น ........ .3) ความทนต่อผลกระทบเหล่านี้ เกิดขึ้นเป็นระยะเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ ......... .4) ปริมาณกัญชาที่ใช้กันตามปกติทางการแพทย์เพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษานั้น ไม่เชื่อว่าจะทำให้เกิดความบกพร่องทางสติปัญญาแบบถาวรในผู้ใหญ่ แต่สำหรับการรักษาระยะยาวในผู้ป่วยวัยรุ่นนั้น ควรได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ เนื่องจากผู้ป่วยวัยรุ่นนั้นจะได้รับผลกระทบมากกว่าในผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่......... .5) กลุ่มอาการขาดกัญชาหรือเลิกให้กัญชา (withdrawal dyndromes) มักไม่ค่อยมีปัญหา “หากได้รับการควบคุมดูแลทางการแพทย์”........ .6) สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับกัญชานั้น ความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะหรือการใช้เครื่องจักรอาจเสื่อมลง ซึ่งต้องระมัดระวัง จนกว่าจะเกิดภาวะการดื้อยา ......... .7) แม้ว่าผู้สนับสนุนให้มีการใช้กัญชาทางการแพทย์จะเชื่อว่ามันปลอดภัย ....... ควรมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อประเมินความปลอดภัยในระยะยาวของการใช้กัญชาทางการแพทย์ในระยะยาว
20 กุมภาพันธ์ 2019---27 ธันวาคม 2018.........วันนี้ (19 กุมภาพันธ์ 2019) .....”ประกาศแล้ว! พ.ร.บ.ยาเสพติดฉบับใหม่ ไฟเขียว "กัญชา-กระท่อม" เพื่อการแพทย์ แต่ลอบเสพ-ขาย คุกเหมือนเดิม”.......แต่ผู้ลักลอบครอบครองและจำหน่ายรับโทษเหมือนเดิม ส่วนผู้เสพถ้าไม่ใช่รักษาโรค คุก 1 ปี ปรับ 2 หมื่น ถ้าเป็นกระท่อมปรับ 2 พัน...........” ประเทศไทยอนุมัติให้ใช้กัญชาทางการแพทย์”,สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายดังกล่าวโดยเอกฉันท์ เพื่ออนุญาตให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ได้ที่ประเทศไทย.....พบสาระสำคัญของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) เปิดช่องให้นำยาเสพติดประเภท 5 "กัญชา-กระท่อม" ไปใช้ทางการแพทย์ ครอบคลุมถึงยาแผนโบราณและยาสมุนไพร แต่ระยะ 5 ปีแรกได้เฉพาะหน่วยงานรัฐ หรือร่วมกับหน่วยงานอื่นเท่านั้น แต่ผู้ลักลอบครอบครองและจำหน่ายรับโทษเหมือนเดิม ส่วนผู้เสพถ้าไม่ใช่รักษาโรค คุก 1 ปี ปรับ 2 หมื่น ถ้าเป็นกระท่อมปรับ 2 พันสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ลงในราชกิจจานุเบกษา ด้วยเหตุที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ อันสืบเนื่องมาจากมีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล เพื่อกำหนดมาตรการในการควบคุมยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสอดคล้องตามหลักสากล ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแล้ว พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ขึ้นไว้ และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ( คือวัน 19 กุมภาพันธ์) เป็นต้นไป.........1. )........ รัฐสภาไทยได้ลงมติเห็นชอบให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ ……. 2.) กัญชาถูกใช้ในประเทศไทยเป็นยาแผนโบราณจนกระทั่งถูกห้ามใช้ในช่วงทศวรรษที่ 1930.......... 3.) ร่างกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านการลงคะแนนเสียง 166-0 เมื่อวานนี้....”โดยคณะผู้ออกกฎหมายซึ่งหนุนหลังโดยทหารได้รับรองข้อเปลี่ยนแปลงต่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ซึ่งจะมีผลให้สามารถใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการวิจัยและทางการแพทย์ได้”มีสมาชิก 13 คนที่งดออกเสียง ……..4.) ในจำนวนทั้งหมด 193 ประเทศที่เป็นรัฐสมาชิกของสหประชาชาติ ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีกฎหมายที่เข้มงวดและมีบทลงโทษหนักที่สุดนั้น ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อนุญาตให้กัญชาทางการแพทย์ ……… 5.) รัฐบาลอังกฤษอนุมัติกัญชาทางการแพทย์เมื่อต้นปี 2561 . ….6.) ประเทศเยอรมนี ออสเตรเลียและไอร์แลนด์.....ได้ออกกฎหมายให้กัญชาทางการแพทย์ ……..7.) “สหรัฐอเมริกา ... .. เมื่อเดือนมิถุนายน 2018....แม้มีเพียง 31 มลรัฐและเขตปกครอง District of Columbia ได้รับรองการใช้กัญชาทางการแพทย์และอีก 15 มลรัฐที่ได้ผ่านกฎหมายที่อนุญาตให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์สารสะกัดแคนนาบินอยด์สำหรับทางการแพทย์ แต่กัญชานั้นยังคงเป็นสิ่งผิดกฎหมายในระดับรัฐบาลกลาง(US Federal Government) ...... ยังคงจัดให้กัญชาเป็นยาเสพติดประเภทที่ 1 หรือประเภทเดียวกับเฮโรอินและ LSD ) ”…….8.) ร่างกฎหมายดังกล่าวที่ได้ผ่านการลงคะแนนเสียง 166-0 เมื่อวานนี้....“ผู้บริโภคสามารถพกพากัญชาในปริมาณที่ระบุไว้และที่จำเป็นสำหรับวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ หากพวกเขามีใบสั่งแพทย์ หรือใบรับรองที่ได้รับการยอมรับ”…....9 .. ) ใบอนุญาตสำหรับการผลิตและการขายผลิตภัณฑ์กัญชานั้นจะถูกควบคุมอย่างเข้มงวด……..10.) ร่างกฎหมายดังกล่าวยังใช้กับกระท่อม…….11.) แคนาดาและอุรุกวัยเป็นสองประเทศเท่านั้นที่มีกฎหมายอนุญาตให้ใช้ได้เพื่อการผ่อนคลาย(recreational use)……. 12. )โดยปกติ..... กัญชาทางการแพทย์นั้น อาการข้างเคียงจากการใช้กัญชาทางการแพทย์นั้น“ไม่รุนแรง”อาการข้างเคียงได้แก่....ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า, เวียนศีรษะ, ความกระหายที่เพิ่มขึ้น ผลกระทบจากโรคหัวใจและหลอดเลือดและทางจิต ภาวะดื้อกัญชาจะเกิดขึ้นเมื่อใช้กัญชาไปได้หลายวันหรือเป็นสัปดาห์ ปริมาณกัญชาที่ปกติใช้กันในทางการแพทย์ไม่เชื่อว่าจะทำให้เกิดความบกพร่องทางสติปัญญาแบบถาวรในผู้ใหญ่ โดยที่การใช้กัญชาในการรักษาในระยะยาวสำหรับผู้ป่วยวัยรุ่นควรระมัดระวังอย่างรอบคอบ เนื่องจากผู้ป่วยวัยรุ่นมีความอ่อนไหวต่อความบกพร่องเหล่านี้มากขึ้น อาการการเลิกกัญชามักไม่ค่อยมีปัญหากับการควบคุมทางการแพทย์สำหรับสารสะกัด cannabinoids ในกัญชา ซึ่งต้องระวังเรื่องความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะหรือการใช้เครื่องจักรอาจลดลง จนกว่าภาวะดื้อกัญชาจะตามเมื่อใช้กัญชาไประยะเวลาหนึ่ง..... แม้จะมีกลุ่มผู้ทีสนับสนุนการใช้กัญชาในทางแพทย์ว่าปลอดภัย แต่จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อประเมินความปลอดภัยในระยะยาวของการใช้กัญชาทางการแพทย์ ".......13. )....การสูบบุหรี่พืชกัญชานั้น เป็นสิ่งที่เป็นอันตรายอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการสูดดมเอาสารก่อมะเร็ง(carciogenics) และสารสกัดแคนนาบินอยด์ของกัญชา(cannabinoids) เข้าไปในปอด(สมาคมมะเร็งวิทยาทางคลินิกแห่งออสเตรเลีย) .....”คำว่า"รักษาให้หายขาดได้ (cure)" เป็นคำที่ยิ่งใหญ่ในด้านมะเร็งวิทยา...มันมักหมายถึงว่า ผู้ป่วยมะเร็งมีชีวิตรอดมาแล้ว 5 ปี โดยไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่บ่งบอกว่าเป็นโรคมะเร็งหลงเหลืออยู่" “ ไม่มีหลักฐานในปัจจุบันที่ว่ากัญชามีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกหรือเพื่อรักษาหรือรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ นอกจากนี้ยังไม่มีหลักฐานในปัจจุบันที่ว่ากัญชาลดความเสี่ยงหรือป้องกันการเกิดมะเร็งหรือส่งเสริมสุขภาพที่ดี (สมาคมมะเร็งวิทยาคลินิกแห่งออสเตรเลีย)”
9 เมษายน 2017......... (Thai/ ไทย /ASEAN) .......สหรัฐสถาบันมะเร็งแห่งชาติของอเมริกายอมรับว่ากัญชาสามารถฆ่า เซลล์มะเร็ง !! แต่ตามกฎหมายของรัฐบาลกลาง, การครอบครองกัญชานั้นเป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศสหรัฐอเมริกา ยกเว้นสำหรับกรณีการวิจัยที่ได้รับการอนุมัติ สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาไม่ได้ยอมรับว่ากัญชาเป็นยารักษาโรค มะเร็งหรืออาการโรคทางการแพทย์อื่นๆได้ สถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NCI) ได้แสดงให้เห็นถึงผลงานการศึกษาวิจัยในห้องปฏิบัติการและในสัตว์ทดลอง โดยชี้ว่า สาร “cannabinoids (THC และ cannabidiol )” ของกัญชาอาจสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ และยังปกป้องเซลล์ปกติด้วย แต่เป็นการทดลองกับสัตว์ทดลองเท่านั้น ซึ่งต้องทำการวิจัยกับมนุษย์ต่อไป ยังไม่มีการตีพิมพ์ผลงานการวิจัยการใช้กัญชาในการรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ ในแง่ของสารเคมีในควันบุหรี่นั้น “ควันบุหรี่กัญชา” มีสารก่อมะเร็งอย่างน้อยครึ่งหนึ่งที่มีอยู่ใน”ควันบุหรี่ยาสูบ” ในขณะเดียวกัน บุหรี่กัญชานั้นมักใส่ยาสูบผสมด้วยในการสูบ การทดลองกับมนุษย์เกี่ยวกับคุณสมบัติการต้านมะเร็งของกัญชานั้น คงได้มีการทำแล้วในบางประเทศขณะนี้
TH | EN | CN